กิจกรรม 9 พฤศจิกายน 2553



ตอบ : 3

อธิบาย : เซลล์สัตว์โดยทั่วไป ประกอบด้วย
ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส, (2) นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล
เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษาความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็นเกลือ และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ หน่วยพันธุกรรมของเซลล์หรือยีน และ อาร์เอ็นเอชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสารชีวโมเลกุล (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย

ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=203688



ตอบ : 4

อธิบาย :
         ในกระบวนการดูดกลับที่ท่อหน่วยไต  น้ำและโมเลกุลของสารที่ร่างกายต้องการเช่น กลูโคส และโมเลกุลของสารที่ร่างกายต้องการ  เช่น  กลูโคส   และกรดอะมิโน  จะลำเลียงผ่านเซลล์ท่อหน่วยไตกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอย  โดยการแพร่  การออสโมซิส  และการลำเลียงแบบใช้พลังงาน

         ในทำนองเดียวกัน  ของเสียจากกระบวนการเมแทบอลิซึม  เช่น ยูเรีย  รวมทั้งสารที่ร่างกายมีมากเกินความจำเป็นและต้องขับออก  เช่น  โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออน  จะกลับเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณน้อยมาก  โดยจะลำเลียงออกโตไปพร้อมกับปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ  นักเรียนเห็นว่าปริมาณการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไตมีความสำคัญต่อการรักษา ดุลยภาพของน้ำในร่างกาย  อีกทั้งยังเป็นการควบคุมความเข้มข้นของสารหลายชนิดในเลือด
ไฮโพทาลามัส  อยู่ทางด้านล่างของสมองส่วนหน้า  ที่ยื่นมาติดต่อมใต้สมองบริเวณนี้ ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง  ไฮโพทาลามัสมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  การนอนหลับ  การเต้นของหัวใจ  ความดันเลือด  ความหิว  ความอิ่ม  การดูดน้ำกลับของร่างกาย และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
         สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำในเลือกถ้าร่างกายขาด น้ำจะทำให้ความดันเลือดลดลงและเลือกเข้มข้นกว่าปกติ  การเปลี่ยนแปลงเช่นส่งผลให้กระแสประสาทจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นปลาย ประสาทของต่อมใต้สมองส่วนท้ายให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ( antidiuretic hormone ) หรือ ADH เข้าสู่กระแสเลือด

         ADH ทำหน้าที่กระตุ้นท่อหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับสู่หลอดเลือด ทำให้น้ำในเลือดสูงขึ้นและความรู้สึกกระหายน้ำลดลง ถ้าเลือดเจือจางไฮโพทาลามัสจะยับยั้งการหลั่ง ADH ทำให้การดูดน้ำกลับคืนมีน้อย ปริมาณน้ำในร่างกายจึงมีภาวะสมดุล
 ADH เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วาโซเปรสซิน

ที่มา :
http://km.vcharkarn.com/other/mo6/47-2010-06-30-07-52-52



ตอบ : 2

อธิบาย : ใน alcohol จะมีสารจำพวกไดยูเรติก ซึ่งเป็นสารขับปัสสาวะ นอกจากใน alcohol แล้ว เรายังพบสารไดยูเรติกในสารคาเฟอีน (ซึ่งพบได้ในกาแฟ ชา ช็อกโกแล็ต น้ำอัดลมประเภทโคล่า)
                การที่ดืมแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอน์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเอง

ที่มา :
http://www.vcharkarn.com/vcafe/35620



ตอบ : 3

อธิบาย : เลือดไม่เป็นกรดเพราะเลือดเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ และกรดที่อยู่ในน้ำส้มนั้นเป็นกรดอ่อนและมีน้อยมาก - เมื่อไวรัสเข้าไปในร่างกายเราร่างกายจะสร้าง แอนติบอดีมาจัดการ

ที่มา :
http://www.dek-d.com/content/view_comment.php?group=C&id=19212&pageno=3&gr=C&url=&mc=6&title=O-NET+%C7%D4%B7%C2%EC+%5B%A1.%BE.+53%5D+%B5%CD%BA%CD%D0%E4%C3+%C1%D2%A4%D8%C2%A1%D1%B9



ตอบ : 1

อธิบาย : เชื้อ ไวรัส โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่รักษาได้ยากมากส่วนใหญ่มักจะตัดส่วนที่เป็นโรคหรืออาจทำลายทั้ง ต้น โดยการเผาก็ได้ อาการที่พบอยู่บ่อย ๆ คือ อาการที่ใบและลำต้น จะมีจุดเขียวคล้ำ ในหงิกงอหรือใบด่าง มีผลทำให้เนื้อเยื่อในส่วนที่ถูกทำลาย ค่อย ๆ ตายลงที่ละน้อย การเข้าสู่พืชของเชื้อไวรัส จะอาศัแปลงปากดูด เพลี้ยต่างๆ หรือบางครั้งอาจติดมากับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานก็ได้

ที่มา :
http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex2.htm



ตอบ : 4

อธิบาย : แอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวเอง โดยพยายามขจัดสิ่งแปลกปลอม โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัสก็เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่นๆ แอนติเจนของไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายเปรียบเสมือนข้าศึกบุกเข้าโจมตีฐานที่ตั้ง ร่างกายจะใช้กลไกหลายชนิดในการป้องกันการรุกรานของเชื้อไวรัส ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว อยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าแคพซิด เชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคน และสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ ไวรัสบางตัวอาจมีเยื่อหุ้มบุอีกชั้นซึ่งมีสารไขมันเป็นส่วนประกอบ ไวรัสไม่มีพลังงานสะสมในตัว ไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่ออยู่นอกเซลล์ของคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่เชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป มันจะเพิ่มจำนวน และทำให้เกิดโรคได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ของโฮสต์แล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นโรงงานผลิตเชื้อไวรัสไปโดยปริยาย
        เชื้อไวรัสสามารถที่จะแบ่งตัว และขยายจำนวนได้ในเซลล์ของร่างกายมนุษย์ โดยเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสอยู่ อาจถูกทำลายไป หรืออาจถูกรุกราน ทำให้เซลล์นั้นทำงานได้ไม่เหมือนปกติ ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ ได้ อาการ และโรคบางชนิดที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาการไอหรือไข้ในเด็กเป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นโรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการไม่ร้ายแรง ก็อาจหายไปได้เอง เพียงแต่รักษาตามอาการที่มีอยู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หน่วยของไวรัสเองจะมีรหัสกรดนิวคลีอิคที่เป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ ก็ได้แล้วแต่ชนิดของไวรัสนั้น หน่วยของไวรัสไม่มีเครื่องมือสำหรับการแบ่งตัวสร้างหน่วยใหม่โดยตัวเอง มันจึงจำเป็นต้องอาศัยเซลที่มีชีวิตอื่นเพื่อทำการยังชีพ และเพิ่มจำนวนตัวเอง ไวรัสจึงคล้ายๆ พยาธิที่คอยเกาะกินเซลล์ที่มีชีวิต และเพิ่มจำนวนขณะอาศัยอยู่ในเซลล์ร่างกายมนุษย์ บางเซลล์อาจถูกทำลาย บางเซลล์ตกอยู่ในสภาพติดเชื้อเรื้อรัง เช่น พวกไวรัสโรคเริม นอกขากนี้ไวรัสบางพวกเลียนแบบเซลล์ปกติของร่างกาย ก่อให้เกิดการแบ่งตัวจนกลายเป็นเนื้องอกขึ้นมาได้ การเลียนแบบเซลล์ปกติของมนุษย์ทำให้การค้นหาเชื้อเพื่อการวินิจฉัย รวมทังการใช้ยารักษาทำลายเชื้อจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ที่มา :
http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-04-20-20/1765-2010-07-14-02-24-42



ตอบ : 2

อธิบาย : สาหร่ายหางกระรอกเป็นพืชน้ำจืด เมื่อเจอน้ำเกลือจะทำให้เซลล์เหี่ยวเพราะน้ำออสโมซิสออกไปจากเซลล์ ในข้อนี้หากนำไปแช่ในน้ำกลั่น น้ำเชื่อม น้ำนมสด และแอลกฮอล์ ที่ไม่ทราบความเข้มข้นนั้น เซลล์มีโอกาสจะเหี่ยวได้เหมือนกัน แต่จะเหี่ยวเร็วที่สุดในแอลกฮอล์ เพราะมีความแตกต่างในปริมาณน้ำมากที่สุด

ที่มา :
http://th.wikipedia.org/wiki/



ตอบ : 4

อธิบาย : ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมที่สามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและ สัตว์ โดยมมีนิวเคลียสเป็นแหล่งดีเอ็นเอหลักของเซลล์ เรียกว่า ยีโนมิกดีเอ็นเอ (genomic DNA) นอกจากนี้ยังสามารถพบดีเอ็นเอได้ในออร์แกร์เนลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในไซโทพลาสซึมของเซลล์   โดยเซลล์พืชพบในคลอโรพลาสต์   (chloroplast)   และไมโทคอนเดรีย(mitochondria)   ส่วนเซลล์สัตว์จะพบในไมโทคอนเดรียเท่านั้น
     หน้าที่หลักของดีเอ็นเอ คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต พัฒนาการและการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะของรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก ซึ่งการเก็บข้อมูลของดีเอ็นเอเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยการจัดเรียงลำดับของนิวคลีโอไทด์ที่มีไนโตรเจนเบสแตกต่างกันทำให้ เกิดเป็นรหัสข้อมูลลักษณะสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน 64 แบบ

ที่มา :
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2931



ตอบ : 3
อธิบาย :  หมู่เลือด ABO เป็นระบบที่คุ้นเคยกันดี ในระบบนี้ แบ่งออกเป็น 4 หมู่ คือ A, B, AB และ O ซึ่งจะถูกกำหนดโดยโปรตีนที่เกาะบนผิวของเม็ดเลือดแดง โดยสารโปรตีนนี้คือ
‘แอนติเจน'' (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด ในระบบ ABO มีอยู่ 2 ชนิดคือสารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B (Antigen-B)
ในกรณีที่คุณแม่ต้องการทราบว่าลูกมีหมู่เลือดใดในระบบ ABO สามารถคำนวณได้เองคร่าวๆ จากหมู่เลือดของคุณพ่อและคุณแม่ ได้ดังนี้

หมู่เลือด A + A
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
หมู่เลือด AB + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด O + O

= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
หมู่เลือด A + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือดใดก็ได้ ได้ทุกหมู่
หมู่เลือด A + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด B + AB

= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด AB + O

= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ B
หมู่เลือด A + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
 เลือดแม่-ลูก..ไม่เข้ากันการ เกิดภาวะเลือดแม่และเลือดลูกไม่เข้ากันในระบบหมู่เลือด ABO มีสาเหตุจากแอนติบอดี้ในน้ำเลือดของคุณแม่สามารถซึมผ่านรกเข้าไปในเลือดของ ลูกในครรภ์ ซึ่งหากคุณแม่มีหมู่เลือด O ก็จะมีแอนติบอดี้ A และ B ผ่านไปยังลูกได้ ในกรณีนี้ถ้าลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ก็จะถูกแอนติบอดี้ที่ผ่านรกเข้าไปในเลือดของลูกทำลายทำให้เม็ดเลือดของลูก แตก แต่การไม่เข้ากันของเลือดแม่และลูกในหมู่เลือด ABO มักมีอาการไม่รุนแรงนัก มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เม็ดเลือดแดงของลูกแตกมากจนทำให้มีการปล่อยสารที่อยู่ในเม็ด เลือดแดงหรือ ‘บิลิรูบิน'' (billirubin) สารที่มีสีเหลืองออกมาในกระแสเลือดมาเกาะที่ผิวหนังและเยื่อบุตาขาว ทำให้ทารกมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองหลังคลอดได้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะมีโอกาสที่ทารกได้รับอันตรายหรือเสียชีวิตใน ครรภ์น้อยมาก การไม่เข้ากันของเลือดแม่ และเลือดลูกชนิด ABO นี้พบได้บ่อยถึงประมาณร้อยละ 20 ของการตั้งครรภ์ และพบได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ครั้งแรกเลย

ที่มา :
http://www.khontai.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=531



ตอบ : 4

อธิบาย :  โรคเลือดจางธาลัสซีเมียคืออะไร
          ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

  1. เป็น พาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
  2. เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมี

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงานเพื่อน
    ข้าพเจ้าคิดว่าผลงานที่ข้าพเจ้าทำ น่าจะได้คะแนน 90 คะแนน
    นายอัครพล นาคเนียม ชั้น ม. 6/3 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  2. นาย กันยวัฒน์ งอนเอี้ยง ม.6/3 เลขที่1
    ประเมินผลงานของตัวเอง
    ดูจากงาน เนื้อหา โดยรวมแล้ว 90 คะแนน

    ตอบลบ