กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554


ตอบ  3.
แก้ว – แก้วจะแยกเป็นสีๆ เวลานำไปหลอมเพื่อทำการผลิตใหม่ แบ่งเป็นแก้วใส แก้วเขียว และแก้วสีชา/น้ำตาล แก้วควรจะได้รับกลับไปรีไซเคิลมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะไม่ใช่แต่เรื่องของการสิ้นเปลืองทรัพยากรเท่านั้น แต่แก้วยังแตกง่าย เป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ในระบบจัดการขยะ ทำให้สายพานหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการคัดแยกขยะเสียหาย การรีไซเคิลแก้ว ช่วยลดการใช้พลังงาน เพราะการนำแก้วเก่าไปหลอมใหม่จะใช้ความร้อนที่ต่ำกว่าการผลิตจากวัตถุดิบใหม่ได้มาก และยังประหยัดทรัพยากรได้หลายอย่าง เช่น ทรายละเอียด แร่ที่ต้องนำมาจากภูเขา และสารเคมีอื่นๆ ที่ต้องนำเข้า เป็นต้น

แก้วที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันมักจะเป็นขวด แก้วน้ำ กระปุกใส่อาหารต่างๆ เมื่อใช้เสร็จแล้ว และจะทิ้งเพราะเก็บไว้ใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้ เราเพียงกลั้วน้ำล้างให้สะอาดจากเศษอาหารที่จะบูดเน่า แล้วก็เก็บไว้ขายหรือให้ซาเล้ง ฝาโลหะก็นำไปรีไซเคิลได้ในหมวดของโลหะ

แก้วที่รีไซเคิลไม่ได้ คือ กระจก กระจกเงา หลอดไฟ เซรามิค/Pyrex

 
กระดาษ – กระดาษรีไซเคิลได้เกือบทั้งนั้น ขอให้กระดาษไม่เปื้อนเศษอาหาร ไม่เปียกเพราะอาจขึ้นราได้ ไม่มีพลาสติกเคลือบอยู่ กระดาษหนังสือพิมพ์นี่ง่ายที่สุดเพราะคุณภาพค่อนข้างสม่ำเสมอ รวบรวมเก็บขายได้ง่ายด้วย

หลักการทิ้งกระดาษที่ถูกต้องก็คือ กรุณาทิ้งแยกจากขยะอื่นๆ เพราะกระดาษเป็นวัสดุที่ค่อนข้างจะบอบบางกว่าวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้นวิธีการง่ายๆ ในการทิ้งก็คือ หาลังเล็กๆ ไว้ใส่ขยะกระดาษในบ้านและในสำนักงาน แล้วทั้งเอกสารเก่า (ที่ใช้สองหน้าแล้ว) หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมาย ใบปลิว กระดาษที่มีตัวแม็ก (Staple) ติดอยู่ก็ไม่เป็นไร ซองจดหมายที่เป็นหน้าต่างพลาสติกอยู่ก็รีไซเคิลได้ ตกลงกันในบ้านว่าขยะพวกนี้จะทิ้งรวมกันในลังนี้ แล้วเมื่อลังเต็มคุณก็ยกไปขายซาเล้งที่ผ่านมาหน้าบ้านได้เลย หรือจะยกให้เค้าไปฟรีๆ เค้าก็จะดีใจมาก แค่เอาไปวางหน้าบ้าน (ในวันที่ฝนไม่ตก) ก็จะมีคนช่วยเก็บออกไปจากบ้านคุณอย่างรวดเร็ว

แต่กล่องพิซซ่าหรือกล่องเค้กที่เลอะเทอะนี่ก็...ลงถังขยะธรรมดาได้เลย

 
โลหะ – เป็นวัสดุที่ได้กลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิลมากที่สุดในปัจจุบัน เห็นได้จากสัดส่วนของวัสดุโลหะที่ปนอยู่ในขยะชุมชนจะมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ สาเหตุน่าจะมาจากราคารับซื้อโลหะเก่าค่อนข้างจะสูง โลหะแม้จะปนเปื้อนกับสิ่งอื่นก็ไม่เป็นไร แม้เริ่มเป็นสนิมแล้วก็ยังขายได้ กระป๋องอลูมิเนียมเก่ามีราคารับซื้อที่สูงมาก ทั้งหมดนี้เป็นเพราะว่า การรีไซเคิลโลหะนั้นสามารถประหยัดพลังงานที่ใช้ในการผลิต และประหยัดการใช้แร่ใหม่ได้เยอะมาก โลหะสามารถนำกลับไปหลอมใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้อย่างต่อเนื่อง

ข้อควรระวังคือพวกกระป๋องยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีบางอย่างถือเป็นขยะอันตราย ต้องใช้การกำจัดพิเศษ และรีไซเคิลไม่ได้

 
พลาสติก – พลาสติกเป็นวัสดุที่พวกเราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันเยอะมากๆ พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมี จึงมีหลายประเภท เราสังเกตได้จากหมายเลขที่ปั๊มไว้ที่ก้นภาชนะนั้นๆ (Cryptic Marker) พลาสติกส่วนมากจะรีไซเคิลได้ แต่ต้องคัดแยกกันสักนิด เพราะไม่ใช่ทุกหมายเลขที่จะรีไซเคิลได้ ถ้าเป็นเบอร์ 1 (Polyethylene Terephthalate (PET) – เช่น ขวดน้ำดื่ม หลอดใส่ครีมกันแดด) และ 2 (High-Density Polyethylene (HDPE) – เช่น ขวดนม ขวดน้ำมัน) จะรีไซเคิลได้แน่ๆ การรีไซเคิลพลาสติกต้องแยกให้ถูกต้องตามแต่ละประเภท เพราะจะมีผลต่อการผลิตมาก
(
http://www.obviously.com/recycle/guides/cryptic.html )

ถ้าเป็นพลาสติกเบอร์อื่นๆ โดยเฉพาะเบอร์ 7 หรือของที่มีพลาสติกหลายๆ อย่างประกบรวมกันไว้ จะไม่สามารถรีไซเคิลได้ หรือพลาสติกที่ไม่ได้ปั๊มเบอร์ไว้ สำหรับเมืองไทยก็คงต้องลงหลุมฝังกลบอย่างเดียว (หรือเตาเผาที่ได้มาตรฐาน ถ้าเผาเปิดกลางแจ้งธรรมดาก็อาจจะสร้างมลพิษให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้)

วิธีการแสนง่าย คุณทำได้คล้ายๆ กับแก้ว คือถ้าเห็นว่าขยะพลาสติกของคุณมีสัญลักษณ์รีไซเคิล โดยเฉพาะเบอร์ 1 และ 2 ก็เก็บแยกไว้กับพวกวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ (ยกเว้นกระดาษ) ถ้าเป็นขวดนมหรืออาหารอื่นก็ล้างด้วยน้ำเปล่าก่อน จะได้ไม่บูดเน่าในบ้าน ก่อนจะยกไปขายซาเล้ง

 
แบตเตอรี่เก่า แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ – แบตเตอรี่ที่ชาร์จใหม่ได้ สามารถรีไซเคิลได้! แบตเตอรี่ที่ชาร์จใหม่ไม่ได้ เป็นขยะอันตราย – ทิ้งแต่ละอย่างให้ถูกที่

 
ซาเล้ง – แปลตรงตัวว่าสามล้อ ซาเล้งเป็นเครือข่ายของอุตสาหกรรมรีไซเคิลที่น่าในใจมากในเมืองไทย ประเทศอื่นอาจจะมีคนเก็บของเก่าไปขาย แต่เอกลักษณ์ของคนเก็บของเก่าเมืองไทยก็คือ พวกเขามักจะใช้รถซาเล้งเป็นพาหนะคู่ใจ

ซาเล้งและพนักงานของรถเก็บขยะ เป็นกำลังสำคัญในการพาให้วัสดุเหลือทิ้งต่างๆ กลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้โดยสวัสดิภาพ  เราสามารถอุดหนุนกิจการของซาเล้งได้โดยการแยกวัสดุไว้ให้พวกเขา
ที่มา  www.efe.or.th/home.php?ds=preview&back...mid...

ตอบ  1.


ตอบ 








1 ความคิดเห็น:

  1. นาย กันยวัฒน์ งอนเอี้ยง ม.6/3 เลขที่1
    ประเมินผลงานของตัวเอง
    ดูจากงาน เนื้อหา โดยรวมแล้ว 90 คะแนน

    ตอบลบ